Username
 
  Password
 
 
 
  วันนี้! ท่านสามารถสมัครสมาชิก
ได้ฟรีโดยไม่เสียค่าสมัคร หรือ
เสียค่าธรรมเนียมใดๆ
 
อนุสาวรีย์สองวีรสตรี
วัดพระผุด (พระทอง)
ภูเก็ตแฟนตาซี
อ่าวฉลอง
สวนผีเสื้อและอควาเรียมภูเก็ต
หาดไม้ขาว
เกาะเฮ
หาดกะหลิม
วัดฉลอง (วัดไชยธาราราม)
สวนสาธารณะสะพานหิน
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ
หาดในยาง
เกาะราชาน้อย
หาดในหาน
แหลมพรหมเทพ
เกาะสิเหร่
สวนสาธารณะเขารัง
ตึกโบราณ เมืองเก่าภูเก็ต
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติถลาง
หาดในทอน
เกาะราชาใหญ่
หาดราไวย์
จุดชมวิวสามอ่าว
พิพิธภัณฑ์เปลือกหอยภูเก็ต
สวนสัตว์ภูเก็ต
หาดกะรน
หาดป่าตอง
หาดสุรินทร์
แหลมกา
หาดบางเทา
ภัตตาคารและโรงละคร สฟิงส์
โรงละคร ไซมอน คาบาเรต์
หมู่บ้านไทยวิลเลจ
สนามมวยป่าตอง
หาดกะตะ
 
สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติถลาง
 
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติถลาง

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติถลาง

พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติถลาง ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร ห่างจากอนุสาวรีย์ไปทางถนนสายป่าคลอกประมาณ 200 เมตร มีเนื้อที่ 13 ไร่ อยู่ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 3 ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต

ประวัติความเป็นมา
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติถลาง เป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติประจำจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นท้องถิ่นที่มีเกียรติประวัติในการปกป้องเอกราชของชาติในสงครามเก้าทัพ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์นาม “ถลาง” ได้รับการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทย เมื่อท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร ได้ประกอบวีรกรรมขับไล่อริราชศัตรู ให้พ้นจากแผ่นดินไทย ในปี พ.ศ. 2328

ในวาระครบรอบ 200 ปี ศึกถลาง คือในปี พ.ศ. 2528 ชาวจังหวัดภูเก็ตจึง ได้ร่วมมือกับกรมศิลปากร ดำเนินการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติถลางขึ้น เพื่อเป็นอนุสรสถานเชิดชูเกียรติของสองวีรสตรี และเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมการ จัดการแสดงให้ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม ของจังหวัดภูเก็ตและพื้นที่ใกล้เคียงแถบชายฝั่งทะเลอันดามัน รวมทั้งเป็นสถานที่อนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมและสนับสนุนกิจการด้าน การท่องเที่ยวของภูเก็ต

อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2528 แล้วดำเนินการเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2532 โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรง เปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2532

ลักษณะอาคาร
การออกแบบก่อสร้างอาคารพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง สถาปนิกได้นำรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นภาคใต้มาประยุกต์เป็น อาคารพิพิธภัณฑ์ที่คงทนถาวร โดยยังคงรักษาลักษณะบ้านท้องถิ่น ของชาวภูเก็ตไว้ เช่น ลักษณะเรือนไม้มีหลังคา 3 ด้าน โดยมีด้านหน้า เป็นรูปจั่ว ยกพื้นที่สูง หลังคามุงจาก ฝาเรือนเป็นไม้ขัดแตะ และไม้ไผ่ สานลายปิดจั่ว เป็นต้น

อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติถลาง จึงเป็นอาคารที่ทรงคุณค่าในแง่ ของการอนุรักษ์รูปแบบศิลปะสถาปัตยกรรมท้องถิ่น และจากการประกวด ผลงานด้านสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม ชื่อรางวัล Gold Medal อันเป็นผลงานการออกแบบของ นายอุดม สกุลพาณิชย์

การจัดแสดง
การจัดแสดงนิทรรศการถาวรภายในอาคารจัดแสดงทั้ง 2 หลัง เน้นการนำ เสนอเนื้อหาเรื่องราวทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชาติพันธุ์วิทยา และศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดภูเก็ตและพื้นที่ใกล้เคียง ดังนี้

1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แสดงความเป็นอยู่ของมนุษย์สมัยก่อน ประวัติศาสตร์ แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ แถบชายฝั่ง ทะเลอันดามัน และโบราณวัตถุซึ่งได้จากการสำรวจขุดค้น

2. อารยธรรมอินเดียบนคาบสมุทรภาคใต้แสดง ถึงความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับดินแดนคาบสมุทรภาคใต้ ของประเทศไทยที่มีมาแต่โบราณนับพันปี โดยยังคงมีศิลปะโบราณ วัตถุเป็นหลักฐานสำคัญ ได้แก่ เทวรูปพระนารายณ์ หรือพระวิษณุ รวมถึงพระพิมพ์ดินดิบแบบต่างๆ สถูปจำลอง ลูกปัด เป็นต้น

3. ประวัติศาสตร์ของจังหวัดภูเก็ต แสดงเรื่องเกี่ยวกับ จังหวัดภูเก็ตนับแต่อดีต เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น เหตุการณ์เมื่อครั้งศึกถลาง ความเจริญรุ่งเรืองของภูเก็ต ในสมัยพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี เป็นต้น

4. ชาติพันธุ์วิทยา แสดงเอกลักษณ์ ด้านศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีความเป็นอยู่ อาชีพ เครื่องมือเครื่องใช้ ของกลุ่มชนผู้อาศัยอบยู่ในจังหวัดภูเก็ต เช่น เกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวจีน ชาวเล การทำเหมืองแร่ การทำสวนยางพารา เป็นต้น

 
 
โปรแกรมทัวร์ที่เกี่ยวข้อง
 
โปรแกรมทัวร์ภูเก็ตซิตี้ทัวร์
กิจกรรม : นำเที่ยวรอบเมืองภูเก็ต นำเที่ยวสถานที่สำคัญต่าง ๆ ทานอาหารพื้นเมือง สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ชอปปิ้ง
โปรแกรมนำเที่ยวรอบเมืองภูเก็ต แนะนำสถานที่สำคัญต่าง ๆ ที่ควรไปเยือนเสมือนท่านที่มาเที่ยวภูเก็ตแล้วไม่ไปเหมือนมาไม่ถึงจังหวัดภูเก็ต ท่านสามารถเลือกสถานที่ท่านอยากจะไปได้ถึง 5 สถานที่ more...
 
 
 
 
 
Copyright 2009. All Rights Reserved. Phuket Voyage Dot Com